วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แนะนำโปรแกรม ArcView GIS (ใช้ทำงานในกลุ่มงานGIS)

แนะนำการใช้โปรแกรม ArcView GIS
(Introduction to ArcView GIS)
1.1 แนะนำโปรแกรม ArcView GIS
1.1.1 ArcView คืออะไร
• ArcView เป็นซอฟต์แวร์ด้าน Desktop Mapping และ GIS (Geographic Information System) ที่สามารถแสดงข้อมูล สร้างข้อมูล แก้ไขข้อมูล สอบถามข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (geographic data) ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (attribute data)
• ArcView เป็นซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะการใช้งานเป็นแบบ Graphical User Interface (GUI) ซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน
• ข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นโดย ArcView จะอยู่ในรูป shape file ซึ่งสามารถนำไปใช้ร่วมกับโปรแกรม GIS และโปรแกรมด้าน Image Processing อื่นได้ เช่น ENVI, ERDAS, MapInfo หรือ Arc/Info เป็นต้น
• ArcView สามารถเข้าถึงข้อมูลของโปรแกรม ARC/INFO ได้โดยตรง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท ESRI (Environmental System Research Institute) และสามารถเข้าถึงข้อมูลกราฟฟิกเชิงราสเตอร์ (Image file) ได้ ดังแฟ้มข้อมูลรูปแบบต่อไปนี้ BMP, BSQ, BIL, BIP, GRID, TIFF, TIFF/LZW compressed และ IMPELL Bitmaps
1.1.2 ArcView ทำอะไรได้บ้าง
• ArcView เป็นมากกว่า Desktop mapping นอกเหนือจากผลิตและแสดงภาพแผนที่ที่มีคุณภาพแล้ว ArcView ยังสามารถใช้งานเพื่อ
- สอบถามและเรียกค้นคืนข้อมูลภูมิศาสตร์
- การกำหนดค่าพิกัดภูมิศาสตร์ให้กับข้อมูล (Geocoding Address)
- สร้างและแก้ไขข้อมูลภูมิศาสตร์
- การแสดงภาพข้อมูลทางภูมิศาสตร์จากหลายแหล่งข้อมูล
• สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลภายนอก (SQL databases)
• สามารถเขียน Script ด้วยภาษาโปรแกรม Avenue ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของ ArcView ให้เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ และสามารถสร้างชุดคำสั่งใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานที่ต้องการ
• มี Extension เพิ่มความสามารถในการทำงานด้านต่าง ๆ
- CadReader : เพิ่มความสามารถในการอ่าน, แสดงภาพ และวิเคราะห์ แฟ้มข้อมูลกราฟฟิกเชิงเส้น เช่น AutoCAD (.dwg หรือ .dxf) และ Microstation (.dgn) เป็นต้น
- Database Themes : เพิ่มความสามารถเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ใน ESRI’s Spatial Database Engine (SDE) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์ของตารางฐานข้อมูล
- Digitizer : สามารถใช้ digitizing table เพื่อการนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ ArcView
- IMAGINE Image Support : สนับสนุนแฟ้มข้อมูลภาพจากโปรแกรม ERDAS IMAGINE (.img)
- Extension ที่สนับสนุนในการรับแฟ้มข้อมูลกราฟฟิกแบบราสเตอร์ เช่น JPEG, JFIF, GeoTIFF. GeoJPG, MrSID, CIB, CADRG, NITF, ADRG เป็นต้น
- Geoprocessing : เป็น extension ที่ช่วยในการสร้างข้อมูลสารสนเทศเชิงพื้นที่ใหม่ขึ้นมากจากชั้นข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อตอบคำถามเชิงของพื้นที่ได้ เช่น การซ้อนทับข้อมูล (Overlay) หรือ การสร้างพื้นที่แนวกันชน (Buffering) เป็นต้น
- Spatial Analyst : สนับสนุนการวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่ (spatial model)
- Model Builder : มาพร้อมกับ Spatial Analyst version 2 เป็นเครื่องมือที่ใช้รูปภาพในการจำลองการทำงาน เพื่อสร้าง workflow สำหรับการทำงาน Geoprocessing สร้าง Scripts เพิ่มความเร็วในการออกแบบ และการจำลองขบวนการ Geoprocessing ที่มีความสลับซับซ้อนให้เห็นว่าสามารถทำงานได้จริง
- 3D Analyst : สนับสนุนการสร้างแบบจำลองพื้นผิว (surface model) และการมองภาพสามมิติ (3D visualization)
- Network Analyst : สนับสนุนในการแก้ไขปัญหางานที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองเส้นทาง โดยการใช้หลักการของโครงข่ายทางภูมิศาสตร์ (Geographic Networks) เช่น การค้นหาเส้นทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด การสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ เป็นต้น
1.1.3 Desktop GIS คืออะไร
• ซอฟต์แวร์ ที่เชื่อมโยงข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงคุณลักษณะเข้าด้วยกัน และสามารถใช้งานบนเครื่อง PC โดยมีความสามารถดังนี้ (Environmental System Research Institute, 1996)
- นำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนที่
- วิเคราะห์หาตำแหน่งที่ตั้ง
- หาตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมตามเงื่อนไขที่กำหนด
- แสดงภาพแผนที่เพื่อการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้านต่างๆ
- รวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่งลงแผนที่ และปรับปรุงภาพแผนที่ได้ง่าย
1.1.4 Desktop GIS ทำงานอย่างไร
• เชื่อมโยงวัตถุ (feature) บนแผนที่ เข้ากับข้อมูลรายละเอียดของวัตถุนั้นๆ ที่เรียกกว่า ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (Attribute data)
- สอบถามข้อมูลเชิงพื้นที่ได้จากข้อมูลเชิงคุณลักษณะ
- สอบถามข้อมูลเชิงคุณลักษณะได้จากข้อมูลเชิงพื้นที่
• จัดการกับข้อมูลเชิงคุณลักษณะและข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านชั้นข้อมูลที่เรียกว่า “THEME”
1.1.5 ลักษณะของ ArcView interface จะมีส่วนประกอบดังนี้
Button bar
Menu bar
Tool bar
Status bar
1.1.6 ArcView Projects
• ประกอบด้วย ArcView document
• จัดเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ (.apr) อ้างถึงข้อมูลต่าง ๆ
• แสดง Document ทั้งหมดใน Project windows
1.1.7 แนะนำการใช้ Views และ Themes
• Theme ประกอบด้วยข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงคุณลักษณะที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
• Views สามารถประกอบด้วย Theme มากกว่า 1 Theme
• แต่ละ Theme จะมีชื่อ Theme และสัญลักษณ์แสดงใน Table of Contents
1.1.8 ใช้งาน Theme แบบง่าย ๆ
• ปิด-เปิด Theme โดย click ที่ Check box ที่หน้าชื่อของ Theme
• ทำ Theme ให้ Active ขึ้น
• เปลี่ยนลำดับการวางโดยการ Dragging
1.1.9 แนะนำการใช้ Table (ตาราง)
• ใช้แสดงรายละเอียดข้อมูลเชิงคุณลักษณะ
• แสดงรายการข้อมูล (record) และเขตข้อมูล (field)
• แสดงข้อมูลเชิงคุณลักษณะของแต่ละ Features ใน Theme นั้น ๆ แนะ

1.1.10 แนะนำการใช้ Chart
• ใช้แสดงข้อมูลในรูปแบบกราฟ
• สามารถแสดงกราฟเปรียบเทียบข้อมูลเชิงคุณลักษณะ
1.1.11 แนะนำการใช้ Layouts
• สามารถสร้างแผนที่เพื่อการนำเสนอ
• แสดง Document (View, Tables, Charts) และรูปภาพ (Graphic)
• สามารถแสดงผลข้อมูลทางเครื่อง Monitor Printer และ Plotter
1.1.12 แนะนำการใช้ Scripts
• เป็นโปรแกรมการแก้ไขข้อความ (Text editor) โดยใช้สำหรับเขียนโปรแกรมด้วยรหัส (code) Avenue
• Avenue scripts เป็นโปรแกรมที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน ArcView
- สร้างชุดคำสั่งเพื่อการใช้งานอัตโนมัติ
- เพิ่มคำสั่งใหม่ในการใช้งาน
- สร้างโปรแกรมประยุกต์ที่เหมาะสมกับความต้องการ
1.1.14 การใช้ระบบ Help ของ ArcView
- Online help
- Help for button, Tools, Menus
- Help topics: Contents, Index, and Find
- Help for dialogs: กดปุ่ม"F1" key
1.2 การนำข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม ArcView
1.2.1 การสร้าง View และ Theme
คุณลักษณะของ View Document
• แต่ละ Project ประกอบด้วย View ได้มากกว่า 1 View
• View เป็นส่วนที่ใช้แสดง Themes ซึ่งมาจากแหล่งข้อมูลหลากหลายประเภท
• Theme แทนด้วยภูมิลักษณ์ (feature) 3 ประเภท คือ Point Line และ Polygon
1.2.2 แหล่งข้อมูลสำหรับ Theme
• ArcView shapefile เป็นข้อมูลมาตราฐานในรูปแบบกราฟฟิก ของโปรแกรม ArcView ซึ่งสามารถสร้างขึ้นมาและแก้ไขได้โดยตรงด้วย ArcView
• ARC/INFO coverage
• ชั้นข้อมูลต่างๆ ของ ARC/INFO Map Libraries หรือ ฐานข้อมูล Arcstorm
• CAD drawing เช่น AutoCAD (.dwg หรือ .dxf) และ Microstation (.dgn) เป็นต้น
• ข้อมูลที่ถูกจัดการด้วย Spatial Database Engine (SDE)
1.2.3 แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมของ Theme
• Image data หรือ Scanned map ซึ่งมีโครงสร้างข้อมูลเชิงกริด (Raster format)
• ข้อมูลแบบตาราง
- ข้อมูลจากฐานข้อมูล SQL เช่น Access, Oracle
- แฟ้ม dBase
- ตาราง INFO
- แฟ้ม text ที่แยก fields ด้วย tabs หรือ commas
1.2.4 ขั้นตอนในการสร้าง View
• Open หรือ New Project
• สร้าง View ใหม่ โดยการ Click ที่ปุ่ม “New” ใน Project Window
• ชื่อ View ใหม่จะปรากฎใน Project Windows
• View Document Window จะปรากฎใน ArcView application windows
1.2.5 การนำเข้า Theme
• Click ปุ่ม Add Theme
• เลือกข้อมูลที่ต้องการนำเข้า
• ข้อมูลที่ถูกเลือกจะปรากฏ Theme ใหม่ใน View
1.2.6 ข้อมูลที่ประกอบด้วย Feature Types หลายประเภท
• Folder ที่ประกอบด้วย Feature Types มากกว่าหนึ่งประเภท เช่น Arc/Info Coverage
• Click ที่ Folder เพื่อแสดง Feature ย่อย
1.2.7 การนำเข้า Image Theme
• Click ปุ่ม Add Theme
• เลือกประเภทข้อมูลที่ต้องการนำเข้าเป็นประเภท Image Data Source
• Image Theme จะปรากฎใน View Document Window
1.2.8 การนำเข้า Theme จากชุดข้อมูลค่าพิกัด x,y
• เลือกหรือคลิกที่ปุ่ม “Table” Icon ใน Project Window
• คลิกปุ่ม “Add“ เพื่อนำเข้าข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูล Text file หรือ ฐานข้อมูล dBase
• เลือกแฟ้มชุดข้อมูลค่าพิกัดที่เก็บในรูปแฟ้ม dBase เพื่อนำมาเก็บในรูปของตารางใน Table Document
• สร้าง Theme ใหม่จากตาราง โดยเลือกคำสั่ง Add Even Theme จากเมนู “View” ใน View Document Window
• กำหนดค่าพิกัดแกน X และ Y จากเขตข้อมูล (filed) ในแฟ้มข้อมูล dBase
• Theme ใหม่จะปรากฏใน View Document Window
1.2.9 รายละเอียดตารางข้อมูลเชิงคุณลักษณะของ Theme
• แสดงรายละเอียดข้อมูลเชิงคุณลักษณะของประเภทข้อมูลใน Theme
• 1 รายการข้อมูล (record) คือ 1 ภูมิลักษณ์ (feature)
• มีเขตข้อมูล (Field) ชื่อ “Shape” เพื่อแสดงประเภทของข้อมูลภูมิลักษณ์ (feature)
• มี Geometry และเขตข้อมูล “identification” field เมื่อ Theme ถูกสร้างจากข้อมูล ARC/INFO coverage ซึ่งจะขื้นอยู่กับชนิดของ feature
1.2.10 การจัดเก็บข้อมูล Project
• จากเมนู File เลือกคำสั่ง “Save Project” งานที่ทำเก็บเป็น Project โดยโปรแกรมจะทำการบันทึกข้อมูลที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วย
- ชื่อของ Project
- ตำแหน่งของ Window ต่างๆ
- ลักษณะของ Feature ที่ถูกเลือก
- การแสดงผล Theme ต่างๆ ใน Project

แหล่งที่มา http://www.agi.nu.ac.th/agmis/download/publication/438_file.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น