วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การกำหนดเส้นทาง (Track) ในโปรแกรม Ozi Explorer

การกำหนดเส้นทาง (Track) ในโปรแกรม Ozi Explorer

การสร้างเส้นทาง (Manually create Track Points)
การสร้างเส้นทาง (Track) เป็นการกำหนดจุดหลายๆ จุดตามแนวเส้นทางการเคลื่อนที่ โดยผู้ใช้สามารถสร้างขึ้นมาเอง หรือใช้เครื่องมือช่วย เช่น GPS ก็ได้ สำหรับการสร้างเส้นทางโดยผู้ใช้เองมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกเมาส์ที่ไอคอน บนเมนูบาร์
2. เมาส์จะเปลื่ยนรูปแบบเป็น ให้ทำการคลิกเมาส์ตามแนวเส้นทางการเคลื่อนที่ โดยเว้นระยะตามความเหมาะสม
3. คลิกเมาส์ที่เมนู File
4. คลิกเมาส์ที่เมนูย่อย Save to File
5. คลิกเมาส์ที่เมนูย่อย Save Track to File
6. คลิกเมาส์ไปที่ path ของโฟดเดอร์ที่ต้องการเก็บข้อมูล
7. ตั้งชื่อของไฟล์เก็บข้อมูล
8. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Save เพื่อบันทึกข้อมูลลงในไฟล์ที่ต้องการ


การเปิดใช้เครื่องมือ Track Control
1. คลิงเมาส์ที่เมนู View ของเมนูบาร์
2. คลิกเมาส์ที่เมนูย่อย Tracks
3. คลิกเมาส์ที่เมนูย่อย Track Control
4. จะปรากฏหน้าต่างของเครื่องมือ Track Control

การเปิดใช้หน้าต่างของ Track Properties
1. ดับเบิลคลิกเมาส์ที่ บนหน้าต่างของ Track Control
2. จะปรากฏหน้าต่างของ Track Properties ดังรูป


แหล่งที่มาของข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร กองบัญชาการกองทัพบก (สอบถามเพิ่มเติม ส.ท.ศุภสิทธิ์ ชงัดเวช naidave@hotmail.com)

การกำหนดจุดเป้าหมาย Waypoint on Map ในโปรแกรม Ozi Explorer

การกำหนดจุดเป้าหมาย Waypoint on Map

การสร้างจุด Waypoint
การสร้างจุด หรือการกำหนดจุดขึ้นใหม่เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้โปรแกรมระบบภูมิสารสนเทศทุกๆ โปรแกรม เพราะเป็นการนำข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เรามีอยู่ เอาเข้าสู่ฐานข้อมูลของระบบ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. คลิกเมาส์ที่ไอคอน บนแถบเมนูบาร์ตามรูป
2. ลักษณะของเคอเซอร์จะเปลื่ยนรูปแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
3. คลิกเมาส์ ณ จุดที่ต้องการ แล้วคลิกขวาที่สัญลักษณ์นั้น จะปรากฏหน้าต่างของ close menu
4. คลิกเมาส์ที่เมนู Properties เพื่อเข้าสู่หน้าต่าง Waypoint Properties
5. หน้าต่าง Waypoint Properties เป็นส่วนที่จะกำหนดข้อมูลต่างๆ ของจุดที่สร้างขึ้น

ค่าต่างๆ ของหน้าต่าง Waypoint Properties มีดังนี้
Name : ชื่อของจุดที่กำหนด ควรใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ
Description : คำอธิบาย ส่วนนี้สามารถใช้อักษรภาษาไทยได้
Symbol Size : ขนาดของสัญลักษณ์
Waypoint Symbol : รูปแบบสัญลักษณ์
Fore Color : สีเส้นขอบของสัญลักษณ์
Back Color : สีพื้นหลังของสัญลักษณ์
Display Format : ชนิดของข้อมูลที่ต้องการให้ปรากฏ
Pointer Direction : ตำแหน่งที่ชนิดของข้อมูลจะปรากฏ
Garmin GPS Display : ชนิดของข้อมูลที่ต้องการให้ปรากฏในส่วนของ GPS
Proximity Distance : ระยะรัศมีของจุดเป้าหมาย
Altitude :
ปุ่ม : ปุ่มแก้ไขข้อมูลของจุดเป้าหมาย
ปุ่ม : ปุ่มแก้ไขวันที่
ปุ่ม : ปุ่มกำหนดการเชื่อมโยงไฟล์
ปุ่ม : ปุ่มกำหนดค่าเริ่มต้น
ปุ่ม : ปุ่มเก็บรายละเอียดข้อมูลในการแนะนำการใช้โปรแกรม
ปุ่ม : ปุ่มยกเลิกการแก้ไขและปิดหน้าต่างนี้
6. คลิกปุ่ม Save เมื่อต้องการบันทึกข้อมูล

7. จะได้จุดเป้าหมายที่สร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อนำเมาส์ไปชี้ที่จุด จะปรากฏข้อมูลของจุดเป้าหมายนั้น

8. คลิกเมาส์ที่เมนู File เพื่อจะทำการบันทึกไฟล์ Waypoint นี้
9. คลิกเมาส์ที่เมนูย่อย Save to File
10. คลิกเมาส์ที่เมนู Save Waypoints to File
11. กำหนดโฟดเดอร์เพื่อจัดเก็บไฟล์นี้
12. ตั้งชื่อไฟล์ โดยไฟล์ที่บันทึกจะมีนามสกุลเป็น wpt
13. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Save เพื่อบันทึกข้อมูลลงในไฟล์ที่ต้องการ

การแก้ไขข้อมูลจุด Waypoint
1. คลิกเมาส์ที่เมนู File
2. คลิกเมาส์ที่เมนูย่อย Load from File
3. คลิกเมาส์ที่ Load Waypoint from file
4. คลิกเมาส์เลือกไฟล์ที่ต้องการแก้ไข
5. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Open
6. ดับเบิลคลิกเมาส์ซ้ายที่สัญลักษณ์ของจุดที่ต้องการแก้ไข หรือคลิกเมาส์ขวา แล้วเลือก Waypoint Properties
7. เมื่อทำการแก้ไขข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกข้อมูล
8. เมื่อนำเมาส์ไปชี้ที่สัญลักษณ์จุดเป้าหมายที่แก้ไขแล้ว จะปรากฏข้อมูลใหม่
9. คลิกเมาส์ที่เมนู File เพื่อจะทำการบันทึกไฟล์ Waypoint นี้
10. คลิกเมาส์ที่เมนูย่อย Save to File
11. คลิกเมาส์ที่เมนู Save Waypoints to File
12. กำหนดชื่อไฟล์ ที่ต้องการบันทึก
13. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Save เพื่อบันทึกข้อมูลลงในไฟล์ที่ต้องการ
14. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Yes เพื่อบันทึกทับไฟล์เดิม ในกรณีที่บันทึกข้อมูลลงบนไฟล์เดิม
การลบจุด Waypoint
การลบจุด Waypoint มี 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 การลบโดยตรงที่รูปสัญลักษณ์ของจุดเป้าหมาย
1. คลิกเมาส์ที่เมนู File
2. คลิกเมาส์ที่เมนูย่อย Load from File
3. คลิกเมาส์ที่เมนูย่อย Load Waypoints from File
4. คลิกเมาส์เลือกไฟล์ที่ต้องการลบจุด Waypoint
5. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Open เพื่อเปิดไฟล์ขึ้นมาตรวจสอบ เพื่อทำการลบจุดที่ต้องการ
6. คลิกเมาส์ขวาที่รูปสัญลักษณ์ของจุดที่ต้องการ
7. คลิกเมาส์ที่เมนู Delete




วิธีที่ 2 ลบโดยการเลือกจุดเป้าหมายที่ Waypoint List
1. คลิกเมาส์ที่ไอคอน Show the Wayppoint List
2. คลิกเมาส์ที่รายการจุด Waypoint ที่เราต้องการลบ
3. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Delete
4. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Yes เพื่อยืนยันการลบ


แหล่งที่มาของข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร กองบัญชาการกองทัพบก (สอบถามเพิ่มเติม ส.ท.ศุภสิทธิ์ ชงัดเวช naidave@hotmail.com)

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

GIS







แหล่งที่มา http://store.tkc.go.th/multimedia/tun/17.GIS/GIS.html

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม (รุ่นที่ 23)

รายชื่อกลุ่มนักศึกษาที่ร่วมทำรายงานวิชา ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)
ส.อ.ปัญญา สีสาเอี่ยม รหัสนักศึกษา 51423437253
ส.อ.อมร แสงศิริ รหัสนักศึกษา 51423437279
ส.อ.ชูเวช โสมกูล รหัสนักศึกษา 51423437292
ส.อ.ธีรเทพ สุขเอี่ยม รหัสนักศึกษา 51423437295
จ.ส.อ.นิติ รูปขจร รหัสนักศึกษา 51423437296
ส.อ.ปราโมทย์ สอาดนัก รหัสนักศึกษา 51423437298
จ.อ. พรเพชร หงษาวง รหัสนักศึกษา 51423437303
จ.ส.อ.วีรพันธ์ คำภา รหัสนักศึกษา 51423437311
ส.ท.ศุภสิทธิ์ ชงัดเวช รหัสนักศึกษา 51423437316
ส.ท.ศุภสิทธิ์ วงศาโรจน์ รหัสนักศึกษา 51423437317
ส.อ.สิทธิพงษ์ บุญจันทร์ รหัสนักศึกษา 51423437318

แนะนำโปรแกรม ArcView GIS (ใช้ทำงานในกลุ่มงานGIS)

แนะนำการใช้โปรแกรม ArcView GIS
(Introduction to ArcView GIS)
1.1 แนะนำโปรแกรม ArcView GIS
1.1.1 ArcView คืออะไร
• ArcView เป็นซอฟต์แวร์ด้าน Desktop Mapping และ GIS (Geographic Information System) ที่สามารถแสดงข้อมูล สร้างข้อมูล แก้ไขข้อมูล สอบถามข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (geographic data) ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (attribute data)
• ArcView เป็นซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะการใช้งานเป็นแบบ Graphical User Interface (GUI) ซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน
• ข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นโดย ArcView จะอยู่ในรูป shape file ซึ่งสามารถนำไปใช้ร่วมกับโปรแกรม GIS และโปรแกรมด้าน Image Processing อื่นได้ เช่น ENVI, ERDAS, MapInfo หรือ Arc/Info เป็นต้น
• ArcView สามารถเข้าถึงข้อมูลของโปรแกรม ARC/INFO ได้โดยตรง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท ESRI (Environmental System Research Institute) และสามารถเข้าถึงข้อมูลกราฟฟิกเชิงราสเตอร์ (Image file) ได้ ดังแฟ้มข้อมูลรูปแบบต่อไปนี้ BMP, BSQ, BIL, BIP, GRID, TIFF, TIFF/LZW compressed และ IMPELL Bitmaps
1.1.2 ArcView ทำอะไรได้บ้าง
• ArcView เป็นมากกว่า Desktop mapping นอกเหนือจากผลิตและแสดงภาพแผนที่ที่มีคุณภาพแล้ว ArcView ยังสามารถใช้งานเพื่อ
- สอบถามและเรียกค้นคืนข้อมูลภูมิศาสตร์
- การกำหนดค่าพิกัดภูมิศาสตร์ให้กับข้อมูล (Geocoding Address)
- สร้างและแก้ไขข้อมูลภูมิศาสตร์
- การแสดงภาพข้อมูลทางภูมิศาสตร์จากหลายแหล่งข้อมูล
• สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลภายนอก (SQL databases)
• สามารถเขียน Script ด้วยภาษาโปรแกรม Avenue ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของ ArcView ให้เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ และสามารถสร้างชุดคำสั่งใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานที่ต้องการ
• มี Extension เพิ่มความสามารถในการทำงานด้านต่าง ๆ
- CadReader : เพิ่มความสามารถในการอ่าน, แสดงภาพ และวิเคราะห์ แฟ้มข้อมูลกราฟฟิกเชิงเส้น เช่น AutoCAD (.dwg หรือ .dxf) และ Microstation (.dgn) เป็นต้น
- Database Themes : เพิ่มความสามารถเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ใน ESRI’s Spatial Database Engine (SDE) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์ของตารางฐานข้อมูล
- Digitizer : สามารถใช้ digitizing table เพื่อการนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ ArcView
- IMAGINE Image Support : สนับสนุนแฟ้มข้อมูลภาพจากโปรแกรม ERDAS IMAGINE (.img)
- Extension ที่สนับสนุนในการรับแฟ้มข้อมูลกราฟฟิกแบบราสเตอร์ เช่น JPEG, JFIF, GeoTIFF. GeoJPG, MrSID, CIB, CADRG, NITF, ADRG เป็นต้น
- Geoprocessing : เป็น extension ที่ช่วยในการสร้างข้อมูลสารสนเทศเชิงพื้นที่ใหม่ขึ้นมากจากชั้นข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อตอบคำถามเชิงของพื้นที่ได้ เช่น การซ้อนทับข้อมูล (Overlay) หรือ การสร้างพื้นที่แนวกันชน (Buffering) เป็นต้น
- Spatial Analyst : สนับสนุนการวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่ (spatial model)
- Model Builder : มาพร้อมกับ Spatial Analyst version 2 เป็นเครื่องมือที่ใช้รูปภาพในการจำลองการทำงาน เพื่อสร้าง workflow สำหรับการทำงาน Geoprocessing สร้าง Scripts เพิ่มความเร็วในการออกแบบ และการจำลองขบวนการ Geoprocessing ที่มีความสลับซับซ้อนให้เห็นว่าสามารถทำงานได้จริง
- 3D Analyst : สนับสนุนการสร้างแบบจำลองพื้นผิว (surface model) และการมองภาพสามมิติ (3D visualization)
- Network Analyst : สนับสนุนในการแก้ไขปัญหางานที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองเส้นทาง โดยการใช้หลักการของโครงข่ายทางภูมิศาสตร์ (Geographic Networks) เช่น การค้นหาเส้นทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด การสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ เป็นต้น
1.1.3 Desktop GIS คืออะไร
• ซอฟต์แวร์ ที่เชื่อมโยงข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงคุณลักษณะเข้าด้วยกัน และสามารถใช้งานบนเครื่อง PC โดยมีความสามารถดังนี้ (Environmental System Research Institute, 1996)
- นำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนที่
- วิเคราะห์หาตำแหน่งที่ตั้ง
- หาตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมตามเงื่อนไขที่กำหนด
- แสดงภาพแผนที่เพื่อการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้านต่างๆ
- รวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่งลงแผนที่ และปรับปรุงภาพแผนที่ได้ง่าย
1.1.4 Desktop GIS ทำงานอย่างไร
• เชื่อมโยงวัตถุ (feature) บนแผนที่ เข้ากับข้อมูลรายละเอียดของวัตถุนั้นๆ ที่เรียกกว่า ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (Attribute data)
- สอบถามข้อมูลเชิงพื้นที่ได้จากข้อมูลเชิงคุณลักษณะ
- สอบถามข้อมูลเชิงคุณลักษณะได้จากข้อมูลเชิงพื้นที่
• จัดการกับข้อมูลเชิงคุณลักษณะและข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านชั้นข้อมูลที่เรียกว่า “THEME”
1.1.5 ลักษณะของ ArcView interface จะมีส่วนประกอบดังนี้
Button bar
Menu bar
Tool bar
Status bar
1.1.6 ArcView Projects
• ประกอบด้วย ArcView document
• จัดเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ (.apr) อ้างถึงข้อมูลต่าง ๆ
• แสดง Document ทั้งหมดใน Project windows
1.1.7 แนะนำการใช้ Views และ Themes
• Theme ประกอบด้วยข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงคุณลักษณะที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
• Views สามารถประกอบด้วย Theme มากกว่า 1 Theme
• แต่ละ Theme จะมีชื่อ Theme และสัญลักษณ์แสดงใน Table of Contents
1.1.8 ใช้งาน Theme แบบง่าย ๆ
• ปิด-เปิด Theme โดย click ที่ Check box ที่หน้าชื่อของ Theme
• ทำ Theme ให้ Active ขึ้น
• เปลี่ยนลำดับการวางโดยการ Dragging
1.1.9 แนะนำการใช้ Table (ตาราง)
• ใช้แสดงรายละเอียดข้อมูลเชิงคุณลักษณะ
• แสดงรายการข้อมูล (record) และเขตข้อมูล (field)
• แสดงข้อมูลเชิงคุณลักษณะของแต่ละ Features ใน Theme นั้น ๆ แนะ

1.1.10 แนะนำการใช้ Chart
• ใช้แสดงข้อมูลในรูปแบบกราฟ
• สามารถแสดงกราฟเปรียบเทียบข้อมูลเชิงคุณลักษณะ
1.1.11 แนะนำการใช้ Layouts
• สามารถสร้างแผนที่เพื่อการนำเสนอ
• แสดง Document (View, Tables, Charts) และรูปภาพ (Graphic)
• สามารถแสดงผลข้อมูลทางเครื่อง Monitor Printer และ Plotter
1.1.12 แนะนำการใช้ Scripts
• เป็นโปรแกรมการแก้ไขข้อความ (Text editor) โดยใช้สำหรับเขียนโปรแกรมด้วยรหัส (code) Avenue
• Avenue scripts เป็นโปรแกรมที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน ArcView
- สร้างชุดคำสั่งเพื่อการใช้งานอัตโนมัติ
- เพิ่มคำสั่งใหม่ในการใช้งาน
- สร้างโปรแกรมประยุกต์ที่เหมาะสมกับความต้องการ
1.1.14 การใช้ระบบ Help ของ ArcView
- Online help
- Help for button, Tools, Menus
- Help topics: Contents, Index, and Find
- Help for dialogs: กดปุ่ม"F1" key
1.2 การนำข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม ArcView
1.2.1 การสร้าง View และ Theme
คุณลักษณะของ View Document
• แต่ละ Project ประกอบด้วย View ได้มากกว่า 1 View
• View เป็นส่วนที่ใช้แสดง Themes ซึ่งมาจากแหล่งข้อมูลหลากหลายประเภท
• Theme แทนด้วยภูมิลักษณ์ (feature) 3 ประเภท คือ Point Line และ Polygon
1.2.2 แหล่งข้อมูลสำหรับ Theme
• ArcView shapefile เป็นข้อมูลมาตราฐานในรูปแบบกราฟฟิก ของโปรแกรม ArcView ซึ่งสามารถสร้างขึ้นมาและแก้ไขได้โดยตรงด้วย ArcView
• ARC/INFO coverage
• ชั้นข้อมูลต่างๆ ของ ARC/INFO Map Libraries หรือ ฐานข้อมูล Arcstorm
• CAD drawing เช่น AutoCAD (.dwg หรือ .dxf) และ Microstation (.dgn) เป็นต้น
• ข้อมูลที่ถูกจัดการด้วย Spatial Database Engine (SDE)
1.2.3 แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมของ Theme
• Image data หรือ Scanned map ซึ่งมีโครงสร้างข้อมูลเชิงกริด (Raster format)
• ข้อมูลแบบตาราง
- ข้อมูลจากฐานข้อมูล SQL เช่น Access, Oracle
- แฟ้ม dBase
- ตาราง INFO
- แฟ้ม text ที่แยก fields ด้วย tabs หรือ commas
1.2.4 ขั้นตอนในการสร้าง View
• Open หรือ New Project
• สร้าง View ใหม่ โดยการ Click ที่ปุ่ม “New” ใน Project Window
• ชื่อ View ใหม่จะปรากฎใน Project Windows
• View Document Window จะปรากฎใน ArcView application windows
1.2.5 การนำเข้า Theme
• Click ปุ่ม Add Theme
• เลือกข้อมูลที่ต้องการนำเข้า
• ข้อมูลที่ถูกเลือกจะปรากฏ Theme ใหม่ใน View
1.2.6 ข้อมูลที่ประกอบด้วย Feature Types หลายประเภท
• Folder ที่ประกอบด้วย Feature Types มากกว่าหนึ่งประเภท เช่น Arc/Info Coverage
• Click ที่ Folder เพื่อแสดง Feature ย่อย
1.2.7 การนำเข้า Image Theme
• Click ปุ่ม Add Theme
• เลือกประเภทข้อมูลที่ต้องการนำเข้าเป็นประเภท Image Data Source
• Image Theme จะปรากฎใน View Document Window
1.2.8 การนำเข้า Theme จากชุดข้อมูลค่าพิกัด x,y
• เลือกหรือคลิกที่ปุ่ม “Table” Icon ใน Project Window
• คลิกปุ่ม “Add“ เพื่อนำเข้าข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูล Text file หรือ ฐานข้อมูล dBase
• เลือกแฟ้มชุดข้อมูลค่าพิกัดที่เก็บในรูปแฟ้ม dBase เพื่อนำมาเก็บในรูปของตารางใน Table Document
• สร้าง Theme ใหม่จากตาราง โดยเลือกคำสั่ง Add Even Theme จากเมนู “View” ใน View Document Window
• กำหนดค่าพิกัดแกน X และ Y จากเขตข้อมูล (filed) ในแฟ้มข้อมูล dBase
• Theme ใหม่จะปรากฏใน View Document Window
1.2.9 รายละเอียดตารางข้อมูลเชิงคุณลักษณะของ Theme
• แสดงรายละเอียดข้อมูลเชิงคุณลักษณะของประเภทข้อมูลใน Theme
• 1 รายการข้อมูล (record) คือ 1 ภูมิลักษณ์ (feature)
• มีเขตข้อมูล (Field) ชื่อ “Shape” เพื่อแสดงประเภทของข้อมูลภูมิลักษณ์ (feature)
• มี Geometry และเขตข้อมูล “identification” field เมื่อ Theme ถูกสร้างจากข้อมูล ARC/INFO coverage ซึ่งจะขื้นอยู่กับชนิดของ feature
1.2.10 การจัดเก็บข้อมูล Project
• จากเมนู File เลือกคำสั่ง “Save Project” งานที่ทำเก็บเป็น Project โดยโปรแกรมจะทำการบันทึกข้อมูลที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วย
- ชื่อของ Project
- ตำแหน่งของ Window ต่างๆ
- ลักษณะของ Feature ที่ถูกเลือก
- การแสดงผล Theme ต่างๆ ใน Project

แหล่งที่มา http://www.agi.nu.ac.th/agmis/download/publication/438_file.pdf

ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ (Gcographic Features)

ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ (Gcographic Features)
ปรากฏการณ์ หรือวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

แสดงลงบนแผนที่ ด้วย
จุด (Point)
เส้น (line)
พื้นที่ (Area หรือ Polygon)
ตัวอักษร (Text)

อธิบายลักษณะสิ่งที่ปรากฏ ด้วย
สี (Color)
สัญลักษณ์ (Symbol)
ข้อความบรรยาย (Annotation)

ที่ตั้ง (Location)
ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์จะต้องแสดงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งสัมพันธ์ของสถานที่หรือสิ่งต่างๆ บนโลก


แผนที่ และ ข้อมูลเชิงพื้นที่

แผนที่ คือ
สิ่งที่แสดงลักษณะของผิวโลก ทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยแสดงลงบนพื้นราบ อาศัยการย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ปรากฏอยู่ บนผิวโลก

ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ

ข้อมูลเชิงภาพ (Graphic data) สามารถแทนได้ด้วย 2 รูปแบบพื้นฐาน
ข้อมูลแบบเวกเตอร์ (Vector format)
ข้อมูลแบบแรสเตอร์ (Rastor format)
ข้อมูลอรรถธิบาย (Attribute data) เป็นข้อความอธิบายที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงภาพเหล่านั้น เช่น ชื่อถนน, ลักษณะ พื้นผิว และจำนวนช่องทางวิ่งของเส้นถนนแต่ละเส้น เป็นต้น


แหล่งที่มา http://www.gisthai.org/about-gis/vactor-gis.html
และ http://www.gisthai.org/about-gis/feature-gis.html

หน้าที่ของ GIS ( How GIS Works )


หน้าที่ของ GIS ( How GIS Works )
ภาระหน้าที่หลัก ๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ควรจะมีอยู่ด้วยกัน 5 อย่างดังนี้
1. การนำเข้าข้อมูล (Input)
ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าเช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น
2. การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)
ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกันเสียก่อน
3. การบริหารข้อมูล (Management)
ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะถูกนำมาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดคือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (DBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐานดังนี้คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง

4. การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)
เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น
ใครคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียน ?
เมืองสองเมืองนี้มีระยะห่างกันกี่กิโลเมตร ?
ดินชนิดใดบ้างที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย ?
หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (Overlay Analysis) เป็นต้น หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (Overlay Analysis) เป็นต้น


5. การนำเสนอข้อมูล (Visualization)
จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั้งระบบมัลติมีเดียสื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น อีก ทั้งเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย


แหล่งที่มา http://www.gisthai.org/about-gis/work-gis.html

ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" ( Geographic Information System ) GIS



ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS"
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ - ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน



แหล่งที่มา http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html